บทที่18) หัวใจหนึ่งดวงที่ถูกย่ำยี
โรงพยาบาลคิระนครศรีธรรมราช
"คุณพ่อและคุณแม่คงพอจะทราบเรื่องที่คนไข้มีประวัติการรักษาโรคหลายบุคลิกแล้วใช่ไหมครับ" หมอหนุ่มเอ่ยถามพสุธาและอนุชาด้วยน้ำเสียงเคร่งเครียด
"ไม่ครับ,ไม่ค่ะ" สองสามีภรรยาตอบพร้อมกันก่อนจะหันมามองหน้ากันอย่างไม่ค่อยเข้าใจว่าลูกชายคนโตของพวกเขาไปเป็นไอ้โรคหลายบุคลิกนี้มาตั้งแต่เมื่อไหร่ แล้วไอ้โรคที่ว่านี้มันเป็นยังไงกัน
"ก่อนอื่นหมอต้องขออนุญาติอธิบายถึงที่มาของจนไปถึงการรักษาโรคหลายบุคลิกที่ว่ามาให้คุณพ่อคุณแม่ฟังเป็นข้อๆก่อนนะครับ"
"ค่ะ,ครับ"
"ครับ" คุณหมอหนุ่มรับคำ "โรคหลายบุคลิกหรือโรคหลายอัตลักษณ์ที่คนไข้กำลังเป็นและอยู่ในระหว่างการรักษานั้นนับเป็นโรคทางจิตเวชอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยมีบุคลิกมากกว่าหนึ่งคนขึ้นไปซึ่งจะสลับสับเปลี่ยนไปมากับในตัวเอง โดยที่ระบบความจำ การรับรู้ ความคิดและความรู้สึกมักแยกออกจากกัน ในผู้ป่วยบางราบจึงอาจไม่สามารถจดจำตัวเองได้เมื่ออีกอัตลักษณ์หนึ่งโผล่เข้ามาแทนที่ ตามหมอทันนะครับ"
"ค่ะ,ครับ" อนุชาบีบมือของภรรยาที่เนื้อตัวสั่นเทาเพราะแรงสะอื้นอย่างปลอบใจ ทั้งๆที่ตัวเองก็น้ำตาไหลไม่ต่างกัน
"ครับ สำหรับสาหตุของโรคนี้มักจะกิดจากการได้รับความกระทบกระเทือนทางร่างกายหรือจิตใจอย่างรุนแรง และเมื่อผู้ป่วยต้องเจอกับเหตุการณ์ที่กระทบจิตใจอย่างรุนแรง สมองจึงสร้างกลไกป้องกันตัวเองโดยเปลี่ยนเป็นอีกอัตลักษณ์ขึ้นมาเพื่อตัดขาดจากความทรงจำและตัวตนเดิม"
"แล้วแบบนี้ลูกชายดิฉันจะมีโอกาสหายจากโรคนี้ไหมคะคุณหมอ" พสุธาเอ่ยถามอย่างมีความหวัง เธอมั่นใจว่าตลอดชีวิตของลูกเธอและสามีไม่เคยกระทำอะไรที่มันกระทบต่อความรู้สึกของลูกชาบอย่างแน่นอน และแม้จะมีลูกถึงเจ็ดคนหากแต่เธอและสามีก็ไม่เคยปล่อยให้คนใดคนหนึ่งรู้สึกว่าพ่อแม่ไม่รักเลยสักครั้ง แล้วลูกชายคนโตของเธอ...ป่วยเป็นโรคนี้ได้อย่างไร
"หมอต้องเสียใจด้วยจริงๆที่จะต้องแจ้งข่าวร้ายให้คุณพ่อและคุณแม่ทราบ โรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ครับ หากแต่ก็สามารถที่จะรักษาให้อาการดีขึ้นตามลำดับได้ครับ"
"ยังไงครับ ผมจะทำทุกทางให้ลูกชายหาย ถึงจะไม่เป็นปกติทั้งร้อยแต่ผมก็พร้อมจะทำ" อนุชาเอ่ยขึ้นอย่างมาดมั่น มือแกร่งยังคงประสานอยู่กับนิ้วเรียวเล็กของภรรยาอย่างให้กำลังใจซึ่งกันและกัน
"ครับ ในส่วนของการรักษาโรคหลายบุคลิกนั้นมี
เป้าหมายของการรักษาโรคหลายบุคลิกคือ การยับยั้งอาการเพื่อเพิ่มความปลอดภัยต่อตัวผู้ป่วยเองและคนรอบข้าง รวมถึงเชื่อมโยงอัตลักษณ์หรือบุคลิกที่หลากหลายให้รวมเป็นอัตลักษณ์เดียว และช่วยให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข โดยปัจจัยสำคัญในการรักษาโรคหลายบุคลิกคือการเข้ารับการบำบัดกับจิตแพทย์ คนรอบข้างควรทำความเข้าใจและยอมรับในสิ่งที่ผู้ป่วยเป็น ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยไม่เกิดการต่อต้านและเข้ารับการรักษาโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้วิธีการรักษาอาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับอาการ ความรุนแรง และปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการของผู้ป่วย โดยใช้หลายวิธีผสมผสานกัน" หมอหนุ่มพักจิบน้ำก่อนจะเอ่ยต่อ
"ซึ่งก็จะมีหนึ่งคือจิตบำบัด
เป็นวิธีการรักษาหลักของโรคหลายบุคลิก จิตแพทย์จะพูดคุยเกี่ยวกับอาการของผู้ป่วยและช่วยให้ผู้ป่วยพูดคุยเกี่ยวกับความทรงจำอันเลวร้ายได้ดีขึ้นผ่านการเรียนรู้สาเหตุของอาการ วิธีรับมือในสถานการณ์ตึงเครียด และวิธีพัฒนาความสัมพันธ์กับผู้อื่นอย่างเหมาะสม สองก็คือการบำบัดความคิดและพฤติกรรม เป็นวิธีที่เน้นการทำความเข้าใจสาเหตุ พร้อมกำหนดเป้าหมายในการบำบัดรูปแบบความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมที่เป็นปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม และฝึกฝนให้ผู้ป่วยมีทักษะในการจัดการกับปัญหาของตนเองได้ดียิ่งขึ้น และทั้งนี้ทั้งนั้นการบำบัดในรูปแบบอื่นๆก็ยังพอจะมีอยู่บ้าง อาธิเช่น จิตบำบัดแบบอีเอ็มดีอาร์ ซึ่งก็คือพฤติกรรมบำบัด ครอบครัวบําบัด สมาธิบำบัด สะกดจิตบำบัด และดนตรีบำบัด เป็นต้นครับ"
"แล้วอย่างนี้โรคนี้จำเป็นจะต้องทานยาอย่างคนที่ป่วยโรคทางจิตเวชชนิดอื่นๆด้วยไหมคะ" แม้เธอจะยังยอมรับไม่ได้ที่ลูกชายต้องกลายเป็นผู้ป่วยจิตเวช แต่เธอก็ยังไม่คิดที่จะยอมแพ้ในการบำบัดให้ลูกชายที่น่ารักสดใสและสุภาพคนเดิมกลับคืนมาให้ได้
"จริงๆแล้วยังไม่มียาที่ใช้รักษาโรคหลายบุคลิกได้โดยตรงนะครับคุณแม่ แต่หากผู้ป่วยมีอาการอื่นที่เกี่ยวข้อง อย่างอาการวิตกกังวลหรือซึมเศร้า ผู้ป่วยอาจจะได้รับยาต้านเศร้า,ยารักษาโรควิตกกังวล หรือยาต้านอาการทางจิตตามดุลยพินิจของแพทย์ครับ มาถึงตรงนี้หมอก็ต้องขอแสดงความยินดีด้วยที่ลูกชายของคุณแม่นั้นยังไม่ต้องเข้ารับการรักษาโดยการทานยาครับ"
"เฟิส์ต,ฟ้า" สองสามีภรรยาโผเข้ากอดกันด้วยความดีใจหลังจากที่รับรู้ได้ว่าความหวังที่จะนำลูกชายคนเดิมของทั้งคู่กลับมายังไม่ดับสิ้นไป
"ทั้งนี้ทั้งนั้นภาวะแทรกซ้อนของโรคหลายบุคลิก
โรคหลายบุคลิกอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลต่อสุขภาพร่างกายและการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยได้ด้วยนะครับ เช่น ภาวะวิตกกังวลและโรคซึมเศร้า โรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์ร้ายแรง
จนก่อให้เกิดความผิดปกติด้านการนอนอย่างฝันร้าย นอนไม่หลับ หรือละเมอขณะหลับ อาจจะมีปัญหาการกินผิดปกติ, ความผิดปกติทางร่างกาย อย่างเวียนศีรษะหรือชักอย่างที่คนไข้พึ่งจะเป็นมาหมาดๆ และทำร้ายตนเองหรืออาจจะมีความคิดอยากฆ่าตัวตายได้ครับ"
"ค่ะคุณหมอ,ครับคุณหมอ"
"สุดท้ายนี้ถ้าหากคุณพ่อกับคุณแม่รูสึกว่าจะมีความเครียดหรือมีปัญหาส่วนตัวใดๆ ที่อาจกระทบต่อการเลี้ยงดูลูก ควรปรึกษาบุคคลที่ไว้ใจได้ โดยอาจเป็นเพื่อนสนิท แพทย์ประจำตัว นักจิตวิทยา หรือหากพบว่าลูกถูกทำร้ายร้ายกาย ประสบอุบัติเหตุ หรือเคยได้รับความกระทบกระเทือนทางจิตใจมาก่อน ควรพาไปพบแพทย์ทันทีเพื่อฟื้นฟูสภาพจิตใจและเรียนรู้วิธีการจัดการกับอารมณ์และความคิดของตนเองอย่างเหมาะสมนะครับ สวัสดีครับ"
"ขอบคุณค่ะคุณหมอ,ขอบคุณครับคุณหมอ"
"ลูกเราน่าเอ็นดูเนอะ" พสุธาซบไหล่สามีขณะทั้งคู่กำลังยืนมองลูกชายคนโตที่ยังคงถูกพันธนาการไว้กับเตียงด้วยความสงสารระคนเอ็นดู
เพราะถึงแม้ภายนอกลูกชายอาจจะโตขึ้นสักแค่ไหน แต่ก็ยังเด็กสำหรับพ่อและแม่อย่างพวกเขาเสมอ...
"เฟียสต้าจะต้องดีขึ้น พี่เชื่อแบบนั้น" อนุชาลูบหัวมนของภรรยาอย่างปลอบใจ "แล้วเรื่องหนูแซน จะเอายังไงดี"
"หนูแซนเกลียดตาเฟียสจนไม่อยากให้เป็นพ่อของลูกเอาซะขนาดนั้น เราก็เอาตัวลูกชายของเราห่างออกมาเถอะ ถึงนั่นจะเป็นลูกของเพื่อนแต่เฟียสต้าเป็นลูกของเรา ฟ้าไม่อยากเห็นลูกต้องเจ็บปวดเพราะแซนดี้ไม่รักอีกแล้ว" ลึกๆแล้วเธอเองก็รู้สึกไม่พอใจแซนดี้ แต่ทำไงได้ก็ในเมื่อลูกชายเธอไปทำให้ลูกสาวเขาเสียหาย แล้วเด็กคนนั้นยังเป็นลูกของเพื่อนสนิทเสียอีกด้วย
เธอไม่อยากจะมีปัญหา เลยเลือกที่จะตัดไฟตั้งแต่ต้นลม... เธอไม่สามารถทนดูลูกชายเจ็บปวดไปเรื่อยๆอย่างไม่มีจุดสิ้นสุดหรอกนะ
"ถ้าหนูแซนท้องละ"
"หนูแซนไม่มีทางยอมให้เราเข้าไปเกี่ยวข้องกับหลานหรอก เราเองก็เคยผ่านช่วงนั้นกันมาก่อนเฟิส์ตก็น่าจะรู้" เธอเองก็เคยผ่านช่วงไม่อยากยอมรับว่าอนุชาเป็นพ่อของลูกมาแล้วเช่นเดียวกัน หากแต่ท้ายที่สุดเธอก็คิดได้ว่าแท้จริงแล้วเธอรักเขามากแค่ไหน และนับได้ว่าเป็นโชคดีของเธอเพราะเขายังคงรอเธออยู่
เธอภาวนาให้แซนดี้รู้ใจตัวเองเร็วๆ เพราะมันจะเป็นผลดีต่อตัวของแซนดี้เอง ดีต่อใจเฟียสต้า และดีต่อพวกเขาที่มีโอกาสจะได้อุ้มหลานถ้าหากเด็กสาวท้องขึ้นมาจริงๆ
แบบนี้...ดีต่อทุกฝ่าย
"เฟิส์ตเองก็หวังว่าหนูแซนจะคิดได้ในวันที่มันยังไม่สายเกินไป" อนุชาว่าอย่างรู้ใจว่าภรรยาคิดอะไรอยู่ ก่อนจะโอบไหล่ภรรยาเพื่อลงไปทานข้าวใต้ตึกโรงพยาบาลเพราะทั้งคู่ยังไม่ได้ทานอะไรมาเลยตั้งแต่เมื่อวานตอนเย็นแล้ว
-ตัด-
รักไม่รัก ให้ไวยัยแซน
มัลลิกา
(เขียน)