บทที่ 21

575 Words
งานเขียนย่อมจัดเป็นงานวรรณกรรม ซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 6 ท่านซึ่งเป็นนักเขียน ย่อมเป็นผู้ทำหรือผู้ก่อให้เกิดงานเขียนซึ่งเป็นงานวรรณกรรม อันมีลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว ท่านย่อมเป็นผู้รังสรรค์ อันเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานเขียนของท่านดังกล่าวที่ได้สร้างสรรค์ขึ้น ซึ่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ย่อมให้ความคุ้มครองแก่ท่านเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานเขียนดังกล่าวโดยอัตโนมัติ ไม่จำต้องจดทะเบียน โดยท่านในฐานที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะทำซ้ำ หรือดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนหรือให้ประโยชน์อันจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น ซึ่งงานเขียนดังกล่าว ตามมาตรา 15 แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ ดังนั้น หากทางสำนักพิมพ์ได้นำงานเขียนนั้นไม่ว่าบางส่วน หรือทั้งหมดไปพิมพ์จำหน่าย อันเป็นการทำซ้ำหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากท่านเจ้าของลิขสิทธิ์ ย่อมถือว่า เขาได้ละเมิดลิขสิทธิของท่าน ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 20,000 -200,000 บาท ตามความแห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 27,69 และวิธีการป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ซึ่งานเขียนของท่านดังกล่าว ท่านย่อมเก็บงานอันเป็นต้นฉบับเอาไว้ และส่งตัวสำเนาไปยังสำนักงานพิมพ์นั้น ๆ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการยืนยันในการพิสูจน์การละเมิดลิขสิทธิ์นั้น ตัวบทกฎหมายอ้างอิง พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 6 งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ ได้แก่งานสร้างสรรค์ประเภทวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ ของผู้สร้างสรรค์ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใด การคุ้มครองลิขสิทธิ์ไม่คลุมถึงความคิด หรือขั้นตอน กรรมวิธีหรือระบบ หรือวิธีใช้หรือทำงาน หรือแนวความคิด หลักการ การค้นพบ หรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ มาตรา 15 ภายใต้บังคับมาตรา 9 มาตรา 10 และมาตรา 14 เจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวดังต่อไปนี้ (1) ทำซ้ำหรือดัดแปลง (2) เผยแพร่ต่อสาธารณชน (3) ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง (4) ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น (5) อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิตาม (1) (2) หรือ (3) โดยจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดหรือไม่ก็ได้ แต่เงื่อนไขดังกล่าวจะกำหนดในลักษณะที่เป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรมไม่ได้ การพิจารณาว่าเงื่อนไขตามวรรคหนึ่ง (5) จะเป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรมหรือไม่ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา 27 การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 15 (5) ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้ (1) ทำซ้ำหรือดัดแปลง (2) เผยแพร่ต่อสาธารณชน มาตรา 69 ผู้ใดกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงตามมาตรา 27 มาตรา 28 มาตรา 29 มาตรา 30 หรือมาตรา 52 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงแปดแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
Free reading for new users
Scan code to download app
Facebookexpand_more
  • author-avatar
    Writer
  • chap_listContents
  • likeADD